ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการฯ ครั้งที่ 9/2560 เมื่อวันที่ 28 เม.ย.60
มีมติอนุมัติให้แก้ไขปรับปรุงระเบียบสหกรณ์ฯ ว่าด้วยเงินให้กู้แก่สมาชิกสหกรณ์
พ.ศ.2560 ซึ่งเพิ่มวงเงินกู้ประเภทฉุกเฉิน และเพิ่มวงเงินกู้สามัญ(สำหรับสมาชิกสมทบ)
ตามรายละเอียด และตารางสรุป ด้านล่างนี้
สรุป
1. เงินกู้ฉุกเฉิน จากเดิม กู้ได้ 0.5 เท่าของเงินได้รายเดือน เป็น กู้ได้ 1 เท่าของเงินได้รายเดือน
แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ไม่เกิน 90% ของเงินค่าหุ้นที่มีอยู่กับสหกรณ์ ส่งหนี้คืนได้ภายใน 3 - 10 งวด
2. เงินกู้ฉุกเฉินกระแสรายวัน จากเดิม กู้ได้ 2 เท่าของเงินได้รายเดือน ไม่เกิน 40,000 บาท
เป็น กู้ได้ 3 เท่าของเงินได้รายเดือน ไม่เกิน 60,000 บาท แต่ไม่เกิน 90% ของเงินค่าหุ้นที่มีอยู่กับสหกรณ์
กดเงินใช้ได้ตามสัญญาเงินกู้ 1 ปี
3. เงินกู้สามัญ(สำหรับสมาชิกสมทบ) ส่วนที่เพิ่มขึ้น ดังนี้
- ผู้กู้ที่เป็นสมาชิกสมทบ ต้องมีอายุไม่เกิน 57 ปี
กรณีกู้เงินสามัญเกิน 200,000 บาทขึ้นไป ดังนี้
- สมาชิกสมทบค้ำประกันสมาชิกสมทบได้ไม่เกิน 4 คน และทำงานกับต้นสังกัดมาแล้ว 5 ปี
- เป็นสมาชิกสมทบมาแล้วเป็นเวลา 6 ปี(ส่งเงินค่าหุ้น 72 งวด) กู้ได้ไม่เกิน 300,000 บาท
ส่งคืนต้นเงินได้ไม่เกิน 90 งวด ทั้งนี้ ระยะเวลาส่งคืนไม่เกินอายุ 60 ปี
- เป็นสมาชิกสมทบมาแล้วเป็นเวลา 10 ปี(ส่งเงินค่าหุ้น 120 งวด) กู้ได้ไม่เกิน 400,000 บาท
ส่งคืนต้นเงินได้ไม่เกิน 120 งวด ทั้งนี้ ระยะเวลาส่งคืนไม่เกินอายุ 60 ปี
- วงเงินกู้ 300,000 บาทขึ้นไป ต้องทำประกันตามที่สหกรณ์จัดทำให้แก่สมาชิกในแต่ละปี
ตัวอย่าง สำหรับปี 2560 ค่าเบี้ยประกัน 290 บาท ต่อวงเงินกู้ 100,000 บาท
วิธีคำนวณ
ถ้ากู้เงิน 400,000 บาท = 400,000 x 290 / 100,000 = 1,160 บาท แล้วคำนวณวันที่คุ้มครอง
นับจากวันที่รับเงินกู้ เช่น รับเงินกู้วันที่ 26 พ.ค.2560 ถึงวันที่ 30 ก.ย.60(วันสิ้นปี) รวม 128 วัน
คำนวณค่าเบี้ย 1,160 x 128 / 365 = 407 บาท (ปีบัญชีสหกรณ์ 1 ต.ค.59 - 30 ก.ย.60)
- สหกรณ์จะหักค่าเบี้ยฯ ณ วันที่จ่ายเงินกู้ เพื่อนำส่งบริษัทประกันที่รับการคุ้มครองต่อไป
- การประกันชีวิต(คุ้มครองเงินกู้) จะทำปีต่อปีตามยอดหนี้คงเหลือในวันสิ้นปี และหักค่าเบี้ยประกัน
ณ วันที่จ่ายเงินปันผลเฉลี่ยคืน เงินค่าเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกันในแต่ละปี
- กรณี ถ้าในวันสิ้นปีหนี้คงเหลือไม่ถึง 300,000 บาท ไม่ต้องทำประกันฯ สำหรับปีถัดไป
**สมาชิกสหกรณ์ที่กู้เงินฉุกเฉินกระแสรายวัน แม้จะชำระหนี้เงินกู้สัญญาเดิมไม่ถึงงวดที่กำหนด
สามารถยื่นกู้เงินฉุกเฉินกระแสรายวัน ตามระเบียบใหม่นี้ได้
**สมาชิกสมทบที่กู้เงินสามัญ แม้จะชำระหนี้เงินกู้สัญญาเดิมไม่ถึงงวดที่กำหนด สามารถยื่นกู้เงินสามัญ
มากกว่าจำนวน 200,000 บาทขึ้นไป ตามระเบียบใหม่นี้ได้
แบบฟอร์มใหม่ เริ่มใช้ วันที่ 3 พ.ค. 2560 มี 3 แบบ ที่ใช้แทนแบบเดิม
1. คำขอกู้ฯ ฉุกเฉิน(แบบ สอ.รง.60-001)
2. คำขอกู้ฯ ฉุกเฉินกระแสรายวัน(แบบ สอ.รง.60-002)
3. คำขอกู้เงินสามัญ(แบบ สอ.รง.60-003)
ไปที่หน้าพิมพ์แบบฟอร์ม
|